6 อุบัติเหตุภายในบ้านและวิธีป้องกัน

6 อุบัติเหตุภายในบ้านและวิธีป้องกัน

บ้าน คือ พื้นที่เซฟโซน และเป็นที่ที่เรารู้สึกปลอดภัยมากที่สุด แต่เป็นที่เกิดอุบัติเหตุได้เช่นกัน และ ขึ้นชื่อว่าอุบัติเหตุ สามารถเกิดขึ้นได้ทุกเวลาโดยที่เราไม่อยากให้เกิดขึ้น โดยเฉพาะอุบัติเหตุใกล้ตัวภายในบ้านที่สามารถเกิดขึ้นได้ในชีวิตประจำวัน เรา TISCO Insure จึงได้นำสิ่งที่ควรระวังและเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุรวมถึงการวิธีป้องกัน การปฐมพยาบาลเบื้องต้น เพื่อลดความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้น จะได้เตรียมพร้อมรับมือกับเหตุการณ์เหล่านี้ได้อย่างถูกต้องที่สุดอย่างมีสติ

1.น้ำร้อนลวก

การปฐมพยาบาลเบื้องต้น

หากโดนไฟไหม้หรือน้ำร้อนลวก ให้ถอดเสื้อหรือเครื่องประดับโลหะที่ไหม้ หรือสิ่งที่โดนความร้อนอยู่ออกจากตัว ถ้าเสื้อผ้าติดอยู่กับแผลห้ามดึงออก ที่สำคัญสิ่งที่หลายๆคนเข้าใจผิด ห้ามใช้ยาสีฟัน น้ำแข็ง หรือน้ำปลาทาแผล โดยเด็ดขาด  ตามความเชื่อเดิมๆที่บอกต่อกันมา แต่ควรทำให้ผิวหนังบริเวณที่ไหม้เย็นลงโดยการเปิดน้ำไหลผ่านเป็นเวลา 10-20 นาที  และไม่ควรเจาะตุ่มพุพอง

การรักษาเบื้องต้น

ทายาชนิดขี้ผึ้ง (Ointment) ที่สามารถใช้สำหรับแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวกได้ เพื่อไม่ให้แผลติดเชื้อ สมานได้เร็วขึ้น และป้องกันการเกิดแผลเป็น อย่างเช่นยาแบคเท็กซ์ (Bactex) ชนิดออยท์เมนท์

หากผู้ป่วยมีแผลขนาดใหญ่ หรือสงสัยว่ามีอาการติดเชื้อ ควรรีบไปพบแพทย์ทันที โดยในเบื้องต้นแพทย์จะทำความสะอาดแผลและปิดแผลไว้ ซึ่งบางรายแพทย์อาจให้ใช้ยาเพื่อระงับอาการปวดด้วย เช่น พาราเซตามอล หรือไอบูโพรเฟน เป็นต้น แต่หากพบอาการอื่น ๆ เพิ่มเติม แพทย์จะพิจารณารักษาตามอาการต่อไป

วิธีการป้องกัน

น้ำร้อนลวกสามารถป้องกันได้โดยการระมัดระวังมากขึ้นขณะทำอาหาร หรือต้มน้ำร้อนโดยเฉพาะเมื่อมีเด็กอยู่ใกล้ๆตัว โดยวิธีป้องกันเบื้องต้นนี้จะช่วยลดความเสี่ยงที่จะเกิดอุบัติเหตุน้ำร้อนลวก เป็นแนวทางในการป้องกันได้

  • หลีกเลี่ยงให้เด็กออกห่างจากน้ำร้อน
  • อุณหภูมิเวลาอาบน้ำไม่ควรตั้งอุณหภูมิร้อนจนเกินไป
  • วางของที่มีความร้อนสูงห่างจากตัว วางไว้ในที่ที่ไม่สามารถจะตกลงมาได้
  • ไม่รีบร้อนขณะทำอาหาร ระมัดระวังน้ำมันกระเด็น
  • หลีกเลี่ยงการดื่มน้ำร้อนเมื่อมีเด็กอยู่ใกล้ๆ

2.ไฟฟ้าช็อต

Shock

การปฐมพยาบาลเบื้องต้น

หากโดน ไฟดูดไฟช็อต อันดับแรกควรมีสติ อย่าวิ่งเข้าไปดึงตัวผู้โดนไฟดูดด้วยมือเปล่าเด็ดขาด เพราะจะทำให้เราโดนไฟดูดตามไปด้วย ควรตัดกระแสไฟในที่เกิดเหตุทันที ยกเว้นเป็นสายไฟแรงสูง ควรแจ้งเจ้าหน้าที่เพื่อความปลอดภัย และควรใช้วัสดุที่ไม่เป็นตัวนำไฟฟ้า เช่น ถุงมือยาง ผ้าแห้ง พลาสติกแห้ง

การรักษาเบื้องต้น

ให้ทำการปฐมพยาบาลเบื้องต้น หรือการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน (CPR) ก่อนส่งโรงพยาบาลให้เร็วที่สุด

  • ให้เช็คดูว่าหายใจอยู่ หรือหายใจเป็นปกติ ชีพจรปกติหรือไม่
  • ถ้าไม่หายใจหรือหายใจช้าจนผิดปกติ ให้เริ่มทำการช่วยชีวิตด้วย CPR ทันที
  • ถ้าหายใจปกติ แต่มีแผลไหม้ ให้ถอดเสื้อผ้าออก ล้างแผลให้เย็นด้วยน้ำสะอาด พันแผลด้วยผ้าที่สะอาด จากนั้นนำส่งโรงพยาบาล

วิธีการป้องกัน

ไฟฟ้าช็อตระมัดระวังได้โดยการตรวจสอบอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านเป็นประจำ หากพบว่ามีสายไฟชำรุดควรให้ช่างมาซ่อมทันที เพื่อลดความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นจากการรั่วไหลของไฟฟ้าเพราะกระแสไฟฟ้าเราอาจจะไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่าได้

  • ติดปลั๊กไฟให้สูง หรือมีอุปกรณ์ปิดป้องกัน ไม่ให้เด็กแหย่เล่น
  • ติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันไฟฟ้าดูด เช่น เครื่องตัดกระแสไฟฟ้าอัตโนมัติ เบรกเกอร์ควบคุมไฟ
  • ระมัดระวังไม่ให้เครื่องใช้ไฟฟ้าเปียกน้ำ
  • ห้ามซ่อมเครื่องใช้ไฟฟ้าเองโดยที่ไม่มีความรู้
  • หมั่นตรวจเช็ตอุปกรณ์สายไฟอยู่เสมอ ซ่อมแซมส่วนที่ชำรุดให้เรียบร้อย
vegetables being sliced 1

3.ของมีคมบาด

การปฐมพยาบาลเบื้องต้น

หากได้รับบาดเจ็บจากของมีคมบาด เช่น มีด กระไกร เศษแก้ว และมีเลือดไหลออกมา ต้องรีบปฐมพยาบาลเพื่อห้ามเลือด ให้ใช้ผ้าสะอาดกดลงบนบาดแผล โดยกดจนกว่าจะไม่มีเลือดซึมออกมามากขึ้นกว่าเดิม สังเกตุได้จากผ้าที่กดแผล โดยไม่นำผ้าออกมาดูว่าเลือดหยุดไหลแล้วหรือไม่

การรักษาเบื้องต้น

  • ห้ามเลือดโดยใช้ผ้าสะอาดวางทับที่ปากแผลและใช้มือกด
  • ใช้ผ้าสะอาดพันทับแผลอีกครั้ง
  • ใช้ผ้าสะอาดปิดบาดแผล
  • ถ้าแผลกว้างมาก มีเลือดออกและจำเป็นต้องเย็บแผล ให้ห้ามเลือดก่อนตามขั้นตอนวิธีห้ามเลือด โดยไม่ต้องล้างแผล แล้วรีบนำส่งโรงพยาบาล หรือ โทร 1669

วิธีการป้องกัน

ของมีคมระมัดระวังได้โดยการที่เก็บแยกไว้ให้รู้ว่าสิ่งของมีคมอยู่ตรงไหนบ้าง และควรสังเกตุดูทุกครั้งว่ามีของมีคมวางอยู่หรือไม่ และควรใช้อย่างระมัดระวังไม่ควารประมาทโดยเด็ดขาด

  • ห้ามนำของมีคมไว้ใกล้ตัวเด็กโดยเด็ดขาด
  • ระมัดระวังการใช้อุปกรณ์ของมีคมเป็นพิเศษ
  • ไม่ควรนำของมีคมไปวางปนภาชนะอื่นๆ เช่น นำไปใส่รวมไว้กับช้อนทานข้าว
  • ไม่ควรนำมือเปล่าไปเก็บเศษแก้วที่แตก
accident fall

4.หกล้มตกบันได

การปฐมพยาบาลเบื้องต้น

หากหกล้มในบ้าน โดยเฉพาะเด็กและผู้สูงอายุ การหกล้มทำให้อวัยวะต่างๆ เช่น แขน ขา และศรีษะได้รับการกระทบกระเทือนและมีการบาดเจ็บ หากล้มแล้วสามารถลุกขึ้นมาได้ เดินได้ปกติ และมีบาดแผลฟกช้ำเล็กน้อย ให้ประคบเย็นเป็นเวลา 10 นาที เพื่อบรรเทาอาการฟกช้ำ แต่ถ้าหากล้มแล้วลุกไม่ไหว มีการแตกหักของชิ้นส่วนกระดูกต่างๆ ให้นำตัวส่งโรงพยาบาลทันที โทร1669 และห้ามเคลื่อนย้ายจนกว่ารถพยาบาลจะมาถึงจะดีที่สุด

การรักษาเบื้องต้น

  • ไม่ควรจะเคลื่อนย้ายผู้บาดเจ็บ ในกรณีที่จำเป็นต้องเคลื่อนย้ายเนื่องจากสถานการณ์ไม่ปลอดภัย ต้องให้ผู้บาดเจ็บนอนหงายบนแผ่นกระดาน กรณีจำเป็นต้องพลิกตัวผู้บาดเจ็บ ต้องให้ตัว ลำคอ และศีรษะตรงเป็นแนวเดียวกันเหมือนท่อนซุง และนำออกมาในที่ปลอดภัย รอจนกว่าเจ้าหน้าที่หน่วยกู้ชีพจะมาถึง
  • หากผู้บาดเจ็บหมดสติหรือหายใจแผ่วเบา หายใจเร็ว ให้ผู้บาดเจ็บนอนลง โดยให้ศีรษะอยู่ต่ำกว่าลำตัวเล็กน้อย ยกขาขึ้น
  • ห้ามเลือด โดยกดที่บาดแผลด้วยผ้าที่สะอาด
  • พยายามให้ส่วนที่หักอยู่สูงกว่าหัวใจเสมอ
  • ใช้น้ำแข็งเพื่อลดอาการบวมและเจ็บปวด จนได้รับการช่วยเหลือจากโรงพยาบาล ไม่ควรใช้น้ำแข็งประคบโดยตรงกับผิวหนัง ให้ใช้ผ้าขนหนู ชิ้นส่วนของเสื้อผ้าหรือวัสดุอื่นห่อน้ำแข็งเอาไว้ก่อนประคบ

วิธีการป้องกัน

การหกล้มตกบันไดระมัดระวังได้โดยการที่พยายามหลีกเลี่ยงพื้นที่ไม่สม่ำเสมอ ระวังน้ำที่พื้นว่ามีอยู่หรือไม่ ไม่ควรวิ่งในบริเวณลงเนิน หากรีบแนะนำว่าควรไปก่อนเวลาหรือใช้เส้นทางเดินที่คุ้นชิน

  • เช็ดพื้นให้เรียบเสมอ
  • แสงไฟในบ้านต้องสว่างเพียงพอ
  • เดินในพื้นที่เรียบ ไม่มีผิวขรุขระ
  • จัดเก็บของในบ้านให้เข้าที่ไม่วางขวางทางเดิน
poison

5.สัมผัสสารพิษทางปาก

การปฐมพยาบาลเบื้องต้น

หากร่างกายได้รับสารพิษ ด้วยการรับประทาน การได้รับสารพิษเป็นสิ่งที่อันตรายมาก ต้องได้รับการปฐมพยาบาลอย่างเร่งด่วน และนำส่งโรงพยาบาลทันที

การรักษาเบื้องต้นผู้ที่ได้รับสารพิษทางปาก

  • ทำให้สารพิษเจือจาง ในกรณีที่รู้สึกตัวและไม่มีการชัก โดยการดื่มน้ำชาล้างพิษ ซึ่งเป็นสิ่งที่หาได้ง่าย แต่ถ้ามีนมจะดีกว่าเพราะจะช่วยเจือจางสารพิษ และยังช่วยเคลือบกระเพาะ
  • นำส่งโรงพยาบาล เพื่อทำการล้างท้องเอาสารพิษออกจากกระเพาะอาหาร
  • ทำให้ผู้ป่วยอาเจียน เพื่อเอาสารพิษออกจากกระเพาะอาหาร ในกรณีที่ต้องใช้เวลานานในการนำส่งผู้ป่วย  เช่น  ใช้นิ้วล้วงคอ ใช้ไม้พันสำลีกวาดคอซึ่งจะเป็นการกระตุ้นให้ รู้สึกอยากอาเจียน

ข้อห้ามในการทำให้ ผู้ป่วยอาเจียน

  • หมดสติ
  • ได้รับสารพิษชนิดกัดเนื้อ เช่น กรด ด่าง
  • รับประทานสารพิษพวก น้ำมันปิโตรเลียม เช่น น้ำมันก๊าด เบนซิน
  • มีสุขภาพไม่ดี เช่น โรคหัวใจ

วิธีการป้องกัน

การดื่มสารพิษหรือสารเคมีเข้าไปในร่างกายมีวิธีการระมัดดระวังได้โดยการแยกขวดสารเคมีอย่างชัดเจนเพราะบางสีถ้าไว้วางใกล้กับน้ำดื่มอาจจะทำให้เกิดความสับสนและทำให้ดื่มสารเคมีได้ ควรแยกไว้ให้ไกลที่สุดจากของกิน และควรมีฉลากระบุอันตรายอย่างชัดเจน

  • ห้ามนำสารเคมีไปไว้ใกล้เด็ก
  • ห้ามนำสารเคมีไว้ใกล้ของใช้ประเภทอื่นควรแยกประเภทอย่างชัดเจน
  • ห้ามนำใส่ภาชนะอาหารเพราะอาจจะทำให้คิดว่าเป็นของที่รับประทานได้
  • อ่านฉลากวิธีการใช้อย่างถูกวิธี

6.อาหารติดคอ

การปฐมพยาบาลเบื้องต้น

หากสิ่งแปลกปลอมเข้าไปอุดกลั้นทางเดินหายใจ เป็นอันตรายมากหากไม่ได้รับการปฐมพยาบาลอย่างทันเวลา หากมีสิ่งแปลกปลอมอุดกลั้นทางเดินหายใจบางส่วนให้ผู้ป่วยพยายามไอออกมาเองโดยเฝ้าสังเกตอาการอย่างใกล้ชิด

การรักษาเบื้องต้น

  • ยืนด้านหลังผู้ป่วย วางเท้าตรงระหว่างเท้าทั้งสองข้างของผู้ป่วย
  • กำมือ ประสานลงที่ท้องผู้ป่วย ตรงตำแหน่ง เหนือสะดือ ใต้ลิ้นปี่
  • ออกแรงกระทุ้ง ดันขึ้นด้านบน อาจให้ผู้ป่วยก้มตัวเล็กน้อยเพื่อง่ายต่อการช่วยเหลือ
  • ทำรอบละ 5 ครั้ง ทำต่อเนื่องจนกว่าจะหลุดออกมา
  • หากผู้ป่วยหมดสติ ให้โทร 1669 และเริ่มทำ CPR

กรณีอยู่ตามลำพัง

  • ให้ผู้ป่วยช่วยเหลือตัวเองดังนี้ กำหมัดข้างหนึ่งวางตรงเหนือสะดือ ใต้ลิ้นปี่
  • ใช้มืออีกข้างจับมือที่กำหมัดไว้แล้วก้มหัวให้มือพาดขอบแข็งๆ เช่น พนักเก้าอี้ ขอบโต๊ะ เป็นต้น
  • ก้มตัวลงแรงๆ เพื่อกระแทกหมัดอัดเข้าท้องในลักษณะดันขึ้นข้างบน ทำซ้ำๆ หลายๆ ครั้ง จนกว่าสิ่งแปลกปลอมหลุด

วิธีการป้องกัน

อาหารติดคอระมัดระวังได้โดยวิธีการที่เราไม่รีบรับประทานอาหารหรือกลืนอาหารขณะที่เขี้ยวอาหารไม่ละเอียด

  • เคี้ยวอาหารให้ละเอียด ไม่รีบรับประทานอาหารมากจนเกินไป
  • ระมัดระวังกระดูกจากเนื้อสัตว์ กางปลา
  • สอนให้เด็กห้ามนำสิ่งขิงเข้าปาก
  • รับประทานอาหารที่กลืนง่าย

อุบัติเหตุในบ้านนั้นเป็นเรื่องที่ทุกคนไม่อยากให้เกิดขึ้น และเป็นสิ่งที่เราไม่ทันได้ระวังและรู้จักการรับมือหรือวิธีการป้องกันการเกิดอุบัติเหตุและการปฐมพยาบาลอย่างถูกวิธี และถ้าหากเรามีประอุบัติเหตให้ TISCOinsure คุ้มครองเราจะอุ่นใจ ดูแลค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล ค่าชดเชยรายได้ ค่าใช้จ่ายอื่นๆ TISCO Insure เรามีประกันอุบัติเหตุหลากหลาย มีแผนประกันความเสี่ยง  และยังบริการลูกค้าอย่างดีที่สุด ถือว่าช่วยให้คุณอุ่นใจในการใช้ชีวิตเป็นอย่างมาก

แชร์บทความนี้