สารบัญ
- ความเข้าใจเบื้องต้นเกี่ยวกับ Co-payment
- กรณีที่ต้องร่วมจ่าย
- วิธีการคำนวณและตัวอย่าง
- โรคและการรักษาที่ได้รับการยกเว้น
- คำถามที่พบบ่อย

ความเข้าใจเบื้องต้นเกี่ยวกับ Co-payment
Co-payment คืออะไร?
ระบบ Co-payment คือระบบร่วมจ่ายค่ารักษาพยาบาลระหว่างผู้ทำประกันและบริษัทประกัน โดยเริ่มใช้ตั้งแต่มีนาคม 2568 เพื่อแก้ปัญหาค่าเบี้ยประกันที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
สาเหตุที่ต้องมีระบบนี้เพราะในช่วงที่ผ่านมา ค่าเบี้ยประกันสุขภาพมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น 3-5% ต่อปี ทำให้ประชาชนเข้าถึงประกันสุขภาพได้ยากขึ้น และผู้ที่มีกรมธรรม์อยู่แล้วอาจต้องออกจากระบบเพราะรับภาระค่าเบี้ยประกันที่สูงขึ้นไม่ไหว
เป้าหมายของระบบ Co-payment คือการรักษาสมดุลระหว่างการเข้าถึงบริการทางการแพทย์และความยั่งยืนของระบบประกันสุขภาพในระยะยาว โดยไม่กระทบกับการรักษาโรคร้ายแรงที่จำเป็น
กรณีที่ต้องร่วมจ่าย – เมื่อไหร่ต้องจ่าย? จ่ายเท่าไหร่?
1. กรณีเจ็บป่วยเล็กน้อย (Simple Diseases)
- เงื่อนไข: เคลมผู้ป่วยในตั้งแต่ 3 ครั้งขึ้นไป และมีอัตราการเคลมรวม 200% ขึ้นไป
- สัดส่วนร่วมจ่าย: 30% ของค่ารักษาในปีถัดไป
- ตัวอย่าง: คุณป่วยเป็นไข้หวัดใหญ่และต้องนอนโรงพยาบาล 3 ครั้งในปีเดียวกัน โดยแต่ละครั้งมีค่ารักษาประมาณ 15,000 บาท ในขณะที่ค่าเบี้ยประกันของคุณคือ 20,000 บาทต่อปี
2. กรณีโรคทั่วไป (ไม่รวมโรคร้ายแรง)
- เงื่อนไข: เคลมผู้ป่วยในตั้งแต่ 3 ครั้งขึ้นไป และมีอัตราการเคลมรวม 400% ขึ้นไป
- สัดส่วนร่วมจ่าย: 30% ของค่ารักษาในปีถัดไป
- ตัวอย่าง: คุณมีอาการปวดท้องรุนแรงและต้องนอนโรงพยาบาล 3 ครั้ง โดยมีค่ารักษารวม 85,000 บาท ในขณะที่ค่าเบี้ยประกันคือ 20,000 บาทต่อปี
3. กรณีพิเศษ
- หากเข้าเงื่อนไขทั้งสองกรณี จะร่วมจ่ายสูงสุด 50%
- การพิจารณาจะทำเป็นรายปี

อัตราการเคลม = (ค่ารักษาที่เคลมทั้งหมด / ค่าเบี้ยประกันสุขภาพต่อปี) × 100
ตัวอย่างการคำนวณ
ตัวอย่างที่ 1: เจ็บป่วยเล็กน้อย
- การเคลมครั้งที่ 1: 10,000 บาท
- การเคลมครั้งที่ 2: 15,000 บาท
- การเคลมครั้งที่ 3: 20,000 บาท
- รวมค่าเคลม: 45,000 บาท
- อัตราการเคลม = (45,000/20,000) × 100 = 225%
ตัวอย่างที่ 2: เจ็บป่วยทั่วไป
- การเคลมครั้งที่ 1: 20,000 บาท
- การเคลมครั้งที่ 2: 25,000 บาท
- การเคลมครั้งที่ 3: 40,000 บาท
- รวมค่าเคลม: 85,000 บาท
- อัตราการเคลม = (85,000/20,000) × 100 = 425%
ตัวอย่างที่ 3: กรณีเข้าเงื่อนไขทั้งสองข้อ
- ค่าเบี้ยประกัน: 20,000 บาท/ปี
- โรคทั่วไป: 45,000 บาท (225%)
- โรคที่ต้องนอนโรงพยาบาล: 85,000 บาท (425%)
ผลลัพธ์: ต้องร่วมจ่าย 50% ในปีถัดไป
โรคและการรักษาที่ไม่นับรวมใน Co Payment
แม้โรคเหล่านี้จะไม่ถูกนำไปคำนวณในการนับ แต่ถ้าหากปีประกันสุขภาพของคุณนั้นติด Co Payment ในปีนั้น ค่ารักษาของโรคร้ายแรงหรือการรักษาเหล่านี้เราจะต้องร่วมจ่ายด้วยตามเงื่อนไข สำหรับกรมธรรม์ใหม่ที่เริ่มคุ้มครองตั้งแต่ มีนาคม 2568
- โรคสมองเสื่อมชนิดอัลไซเมอร์
(Alzheimer’s disease) - โรคของเซลล์ประสาทควบคุมการเคลื่อนไหว (Motor Neuron Disease)
- โรคโลหิตจางจากไขกระดูกไม่สร้างเม็ดโลหิต (Aplastic Anemia)
- โรคเยื่อหุ้มสมอง และไขสันหลังอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย
(Bacterial meningitis)
- เนื้องอกในสมองชนิดที่ไม่ใช่มะเร็ง
(Benign brain tumor) - ตาบอด (Blindness)
- โรคมะเร็งระยะลุกลาม
(Invasive Cancer) - โรคกล้ามเนื้อหัวใจ
(Cardiomyopathy)
- ตับวาย (Chronic Liver Disease/End-stage Liver disease/
Liver failure)
- โรคหลอดลมปอดอุดกั้นเรื้อรังขั้นรุนแรง/โรคปอดระยะสุดท้าย
(Severe Chronic Obstructive Pulmonary Disease/
End-stage Lung disease)
- ภาวะโคม่า (Coma)
- โรคหลอดเลือดหัวใจตีบที่รักษาด้วยการสวนหลอดเลือดหัวใจ
(Coronary Artery Disease requiring Angioplasty) - การผ่าตัดเส้นเลือดเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ
(Coronary Artery By-pass Surgery) - กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันจากการขาดเลือด (Acute Heart Attack)
- การผ่าตัดลิ้นหัวใจโดยวิธีการเปิดหัวใจ
(Open Heart Surgery for the Heart Valve)
- ไตวายเรื้อรัง(Chronic Kidney Failure)
- การสูญเสียการได้ยิน (Loss of Hearing)
- การสูญเสียการดำรงชีพอย่างอิสระ (Loss of independent living)
- การทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิง (Total and permanent disability – TPD)
- การสูญเสียความสามารถในการพูด (Loss of speech)
- แผลไหม้ฉกรรจ์ (Major burn)
- การบาดเจ็บที่ศีรษะอย่างรุนแรง (Major Head Trauma)
- การผ่าตัดเปลี่ยนอวัยวะหรือปลูกถ่ายไขกระดูก
(Major Organs Transplantation or Bone Marrow Transplantation)

Co-payment และ Deductible: ความแตกต่างที่ควรรู้ก่อนเลือกทำประกัน
ในแวดวงประกันสุขภาพและประกันภัยต่างๆ เรามักจะได้ยินคำว่า Co-payment (โคเพย์เมนต์) และ Deductible (ดีดักทิเบิล) อยู่บ่อยครั้ง ซึ่งทั้งสองคำนี้หมายถึง “การมีส่วนร่วมจ่าย” ของผู้เอาประกัน แต่มีความแตกต่างกันในรายละเอียดและวิธีการทำงานอย่างชัดเจน
Deductible: ค่าความรับผิดส่วนแรกที่ต้องจ่ายก่อน
Deductible หรือ “ค่าความรับผิดส่วนแรก” คือ จำนวนเงินที่คุณต้องรับผิดชอบจ่ายไปก่อนเป็นก้อนแรก เมื่อมีค่ารักษาพยาบาลหรือค่าสินไหมทดแทนเกิดขึ้น บริษัทประกันจะยังไม่เข้ามาจ่ายค่าชดเชยใดๆ จนกว่าคุณจะจ่ายในส่วนของ Deductible ครบตามจำนวนที่ระบุไว้ในกรมธรรม์
ลักษณะสำคัญของ Deductible:
-
จ่ายก่อน: เป็นเงินก้อนแรกที่คุณต้องจ่ายเมื่อเกิดเหตุการณ์ที่ต้องเคลม
-
กำหนดเป็นจำนวนเงินที่แน่นอน: เช่น 30,000 บาท หรือ 50,000 บาทต่อปีกรมธรรม์
-
จ่ายครั้งเดียว (ต่อปีหรือต่อครั้ง): เมื่อจ่ายครบตามวงเงินที่กำหนดแล้ว ในครั้งต่อไป (ภายในปีกรมธรรม์เดียวกัน) หากมีค่าใช้จ่ายเกิดขึ้นอีก บริษัทประกันจะเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายส่วนที่เหลือตามวงเงินคุ้มครอง
-
เบี้ยประกันถูกลง: แผนประกันที่มี Deductible สูง มักจะมีค่าเบี้ยประกันที่ถูกกว่า
ตัวอย่าง: นาย ก. ทำประกันสุขภาพแบบมี Deductible 30,000 บาทต่อปี ต่อมานาย ก. เข้ารับการรักษาพยาบาลด้วยค่าใช้จ่ายทั้งหมด 80,000 บาท
-
นาย ก. จะต้องจ่ายค่ารักษาพยาบาลเองก่อนเป็นจำนวน 30,000 บาท (Deductible)
-
บริษัทประกันจะรับผิดชอบค่าใช้จ่ายส่วนที่เหลืออีก 50,000 บาท
หากในปีเดียวกัน นาย ก. ป่วยอีกครั้งและมีค่ารักษาพยาบาล 40,000 บาท บริษัทประกันจะจ่ายให้ทั้งหมด 40,000 บาท เนื่องจากนาย ก. ได้จ่ายค่า Deductible ของปีนั้นครบแล้ว
Co-payment: การร่วมจ่ายเป็นเปอร์เซ็นต์ทุกครั้งที่เคลม
Co-payment หรือ “การร่วมจ่าย” คือ หากเข้าเงื่อนไขตามที่กล่าวมาด้านบน คุณและบริษัทประกันร่วมกันรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในแต่ละครั้งที่มีการเคลม โดยจะคิดเป็นสัดส่วนเปอร์เซ็นต์ที่กำหนดไว้ในกรมธรรม์
ลักษณะสำคัญของ Co-payment:
-
จ่ายทุกครั้งที่เคลม: คุณจะต้องมีส่วนร่วมจ่ายทุกครั้งที่มีการใช้บริการทางการแพทย์
-
กำหนดเป็นเปอร์เซ็นต์: เช่น 20% หรือ 30% ของค่าใช้จ่ายในแต่ละครั้ง
-
ไม่มีเพดานการจ่าย: ไม่ว่าค่ารักษาจะมากหรือน้อย คุณจะต้องจ่ายตามสัดส่วนที่กำหนดไว้เสมอ
สรุป
Co-payment เป็นระบบที่ช่วยรักษาความยั่งยืนของระบบประกันสุขภาพ โดยไม่กระทบต่อการรักษาโรคร้ายแรง ผู้ทำประกันควรศึกษาเงื่อนไขให้เข้าใจและวางแผนการใช้ประกันอย่างเหมาะสม
คำถามที่พบบ่อย
Q:
A: ไม่ ใช้เฉพาะการรักษาแบบผู้ป่วยใน (IPD) เท่านั้น
Q:
ไม่ จะมีการพิจารณาใหม่ทุกปีตามประวัติการเคลม
ไม่ เฉพาะกรมธรรม์ใหม่ที่เริ่มคุ้มครองตั้งแต่มีนาคม 2568 เท่านั้น
Co payment: ถ้าเข้าเงื่อนไข จะเป็นการร่วมจ่ายเมื่อเข้ารับการรักษาตามจำนวน % ที่เข้าเงื่อนไข
Deductible: จำนวนเงินที่ต้องรับผิดชอบจ่ายไปก่อนเป็นก้อนแรก เมื่อมีค่ารักษาพยาบาลหลังจากครบยอดที่กำหนดแล้ว ค่าใช้จ่ายหลังจากนั้นบริษัทประกันจะเป็นคนจ่าย