656.720 1
ประกันสุขภาพ

TISCOInsure ได้คัดสรรแผนประกันสุขภาพ ประกันมะเร็ง ประกันโรคร้ายแรง เพื่อรับมือกับความไม่แน่นอนของชีวิตทุกวัน เบี้ยเริ่มต้นต่อเดือน 300-500 บาท โดยมีบริษัประกันภัยชั้นนำของประเทศไทยเป็น Partner

ดูแผนประกัน

ประกันสุขภาพทิสโก้ดีอย่างไร

ตัวอย่างค่าเบี้ย เพศ ชาย อายุ 30

ประกันมะเร็ง

ประกันภัยโรคมะเร็ง Zero Cancer Plus

ค่าเบี้ยเริ่มต้น 960 บาท ต่อปี

  • ตรวจเจอจ่ายสูงสุด : 500,000 บาท
  • ค่ารักษาพยาบาลสูงสุด : 1,000,000 บาท
  • ค่าวินิจฉัยซ้ำโรคมะเร็ง : 10,000 บาท
  • ค่าเดินทางไปรักษา : 500 บาท ต่อครั้ง​
ประกันสุขภาพเหมาจ่าย

My Care Prestige Health Plus

ค่าเบี้ยเริ่มต้น 18,611 บาท ต่อปี

  • คุ้มครองสูงสุด: 100,000,000 บาท/ปี
  • ผู้ป่วยใน: เหมาจ่ายตามจริง
  • ผู้ป่วยนอก: ซื้อความคุ้มครองเพิ่มเติม
  • ค่าห้องสูงสุด: 25,000 บาท ต่อวัน
ประกันสุขภาพเหมาจ่าย

My Care Saver

ค่าเบี้ยเริ่มต้น 5,940 บาท ต่อปี

  • คุ้มครองค่ารักษาสูงสุด: 300,000 บาท/ปี
  • ค่าห้องสูงสุด: จ่ายตามจริง
  • ผู้ป่วยใน: จ่ายตามจริงไม่เกิน 50,000 บาท ต่อครั้ง
  • ไม่ต้องตรวจสุขภาพ
ประกันสุขภาพเหมาจ่าย

My Care Smart BDMS

ค่าเบี้ยเริ่มต้น 26,952 บาท ต่อปี

  • คุ้มครองสูงสุด: 5,000,000 บาท/ปี
  • ค่าห้องสูงสุด: 15,000 บาท ต่อวัน
  • ไม่ปฎิเสธการต่ออายุ แม้มีการเคลม
  • ไม่เคลม มีเงินคืนสูงสุด 10 %
ประกันสุขภาพเหมาจ่ายต่อครั้ง

My Care Smart Plus

ค่าเบี้ยเริ่มต้น 19,812 บาท ต่อปี

  • คุ้มครองสูงสุด: 1,800,000 บาท/ปี
  • ค่าห้องสูงสุด: 8,000 บาท ต่อวัน
  • ไม่ปฎิเสธการต่ออายุ แม้มีการเคลม
  • ไม่เคลม มีเงินคืนสูงสุด 10 %
ประกันสุขภาพเหมาจ่ายต่อครั้ง

My Care Easy Health

ค่าเบี้ยเริ่มต้น 15,394 บาท ต่อปี

  • คุ้มครองสูงสุด: 5,000,000 บาท/ต่อครั้ง
  • ค่าห้องสูงสุด: ห้องพักเดี่ยวมาตรฐาน
  • ไม่จำกัดจำนวนครั้ง
  • เพิ่มวงเงินคุ้มครอง 3 โรคร้าย
ประกันสุขภาพเหมาจ่าย

My Care Smart

ค่าเบี้ยเริ่มต้น 12,612 บาท ต่อปี

  • คุ้มครองสูงสุด: 700,000 บาท/ปี
  • ค่าห้องสูงสุด: 4,500 บาท ต่อวัน
  • ไม่ปฎิเสธการต่ออายุ แม้มีการเคลม
  • ไม่เคลม มีเงินคืนสูงสุด 10 %
ประกันโรคร้ายแรง

CI Extra Care

ค่าเบี้ยเริ่มต้น 2,837 บาท ต่อปี

  • คุ้มครองโรคร้ายแรงสูงสุด : 5,000,000 บาท
  • เสียชีวิตคุ้มครองสูงสุด : 100,000 บาท
  • คุ้มครอง: 8กลุ่มโรคร้าย 108 โรคร้าย
  • ค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วยใน : สูงสุดวันละ 10,000 บาท
ประกันชดเชยรายได้

ชดเชยชัวร์

ค่าเบี้ยเริ่มต้น 1,080 บาท ต่อปี

  • ชดเชยระหว่างพักรักษาตัวสูงสุด : 1,000 บาท
  • ชดเชยระหว่างพักรักษาตัว (ICU) สูงสุด : 2,000 บาท

5 ขั้นตอนเลือก “ประกันสุขภาพ” ให้คุ้มค่าและใช่สำหรับคุณ

การ เปรียบเทียบประกันสุขภาพ อาจดูเป็นเรื่องซับซ้อน แต่หากคุณทำตามขั้นตอนเหล่านี้ จะช่วยให้การตัดสินใจง่ายขึ้นเยอะ

1.สำรวจความต้องการของตัวเอง:

อายุและสุขภาพ: คุณอายุเท่าไหร่? มีโรคประจำตัวหรือไม่? ไลฟ์สไตล์มีความเสี่ยงด้านใดบ้าง?
สวัสดิการที่มี: สวัสดิการจากที่ทำงานครอบคลุมแค่ไหน? เพียงพอหรือไม่?
ไลฟ์สไตล์: คุณเป็น มนุษย์เงินเดือน ที่มีสวัสดิการพื้นฐาน หรือเป็น ฟรีแลนซ์ ที่ต้องดูแลตัวเอง 100%

2.กำหนดงบประมาณ (เบี้ยประกัน):

คุณสามารถจ่าย เบี้ยประกัน ต่อปีได้เท่าไหร่? ควรเลือกเบี้ยประกันที่คุณจ่ายไหวในระยะยาวโดยไม่กระทบสภาพคล่องทางการเงิน

3.เลือกความคุ้มครอง (Coverage) ที่เหมาะสม:

วงเงินค่ารักษา: ควรเลือกวงเงินที่ครอบคลุมค่ารักษาพยาบาลของโรงพยาบาลที่คุณคาดว่าจะใช้บริการ
ความคุ้มครอง IPD/OPD: คุณต้องการความคุ้มครองผู้ป่วยนอกด้วยหรือไม่?
ค่าห้อง: ค่าห้องต่อคืนที่ประกันจ่ายให้ สอดคล้องกับค่าห้องของโรงพยาบาลเป้าหมายของคุณหรือไม่?

4.ตรวจสอบเครือข่ายโรงพยาบาล (Hospital Network):

แผนประกันที่คุณสนใจมี โรงพยาบาลในเครือ ที่คุณสะดวกในการเดินทางและไว้วางใจหรือไม่? การเข้ารักษาในโรงพยาบาลเครือข่ายจะช่วยให้คุณไม่ต้องสำรองจ่าย (Fax Claim)

5.พิจารณาเงื่อนไขและข้อยกเว้น:

อ่านรายละเอียดในกรมธรรม์ให้ถี่ถ้วน โดยเฉพาะ “ระยะเวลารอคอย” (Waiting Period) และ “ข้อยกเว้นความคุ้มครอง” (Exclusions) เพื่อให้คุณเข้าใจสิทธิประโยชน์ของตัวเองอย่างชัดเจน

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับประกันสุขภาพ

OPD คืออะไร?

OPD ย่อมาจาก Out-Patient Department หมายถึง ผู้ป่วยนอก ซึ่งหมายถึงผู้ป่วยที่เข้าไปรับการรักษาตัวในโรงพยาบาล แต่ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องนอนพักที่โรงพยาบาล สามารถกลับไปพักรักษาตัวต่อที่บ้านได้ โดยส่วนมากอาการป่วยของผู้ป่วยนอกจะไม่รุนแรงมากนัก เช่น ไข้หวัด แพ้อากาศ ไอ หรือหัวแตก เย็บแผลไม่กี่เข็ม แต่แพทย์ลงความเห็นว่ากลับไปรักษาตัวที่บ้านได้ก็นับเป็นผู้ป่วยนอกทั้งหมด บางคนอาจจะเรียกว่าหาหมอรับยากลับบ้าน ก็คือ OPD เช่นกัน

IPD หมายถึง "Inpatient Department" ในภาษาไทยหมายถึง "แผนกผู้ป่วยใน" นั่นคือแผนกที่ให้บริการดูแลและรักษาผู้ป่วยที่ต้องนอนรอค้างคืนในโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาล เนื่องจากมีปัญหาสุขภาพที่จำเป็นต้องรับการรักษาเชิงลึกหรือต้องให้บริการเฉพาะทาง เช่น การผ่าตัด, การรักษาโรคร้ายแรง, หรือการกู้ชีวิต ใน IPD ผู้ป่วยจะได้รับการดูแลโดยทีมแพทย์และพยาบาลตลอดเวลา รวมถึงการให้ยาและการดูแลเฉพาะทางที่ต้องการ โดยผู้ป่วยจะต้องพักอยู่ในตึกหรือห้องที่จัดเตรียมไว้สำหรับผู้ป่วยในระหว่างรักษา

ระยะเวลารอคอย (Waiting Period) คือ ระยะเวลาที่ผู้เอาประกันภัยไม่สามารถเคลมค่ารักษาพยาบาลจากประกันสุขภาพได้ แม้ว่าจะเจ็บป่วยหรือเป็นโรคตามเงื่อนไขความคุ้มครองก็ตาม ระยะเวลารอคอยมักเป็นจำนวนวัน เช่น 30 วัน 60 วัน 90 วัน หรือ 120 วัน จะแตกต่างกันไปตามประเภทของประกันสุขภาพและเงื่อนไขความคุ้มครอง เช่น ประกันสุขภาพโรคทั่วไป มักจะมีระยะเวลารอคอย 30 วัน สำหรับโรคร้ายแรง มักจะมีระยะเวลารอคอย 90 วัน หรือมากกว่านั้น

จะทำได้หรือไม่ต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขของบริษัทประกัน โดยที่ต้องแถลงข้อมูลสุขภาพตามความจริงทั้งหมด จากนั้นบริษัทจะพิจารณาเป็นกรณีไป ซึ่งอาจมีผลลัพธ์ 3 รูปแบบ คือ:

  1. รับประกัน โดยอาจมีข้อยกเว้นที่ไม่คุ้มครองโรคประจำตัวที่เป็นอยู่และโรคแทรกซ้อนที่เกี่ยวข้อง
  2. รับประกัน แต่อาจขอเพิ่มเบี้ยประกันสูงกว่าปกติ
  3. ปฏิเสธการรับประกัน

TISCO Insure ดำเนินงานโดยบริษัทในกลุ่มทิสโก้ (เลขที่ใบอนุญาตนายหน้าประกันชีวิต : ช00006/2556, เลขที่ใบอนุญาตนายหน้าประกันวินาศภัย : ว00006/2556) ซึ่งไม่มีบริษัทประกันภัยในเครือ เป็นจุดแข็งที่ทำให้เราสามารถคัดสรร ผลิตภัณฑ์ที่โดดเด่น ของแต่ละบริษัทประกันภัยมานำเสนอท่าน ถึงแม้ว่าบริษัทประกันชั้นนำแต่ละบริษัท ทั้งด้านประกันภัยและประกันชีวิต จะสามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์ ได้หลากหลาย แต่ข้อเท็จจริงคือ บริษัทประกันแต่ละแห่งมีความเชี่ยวชาญในผลิตภัณฑ์ที่แตกต่างกัน และมีนโนบายที่แตกต่าง ด้วยเหตุนี้เองเราจึง อาสาที่จะช่วยท่านดูแล และเฟ้นหาสิ่งที่ดีที่สุดเพื่อท่าน

1. มีโอกาสในการเลือกข้อเสนอมากกว่า เพราะโบรกเกอร์มีเบี้ยประกันให้เปรียบเทียบหลายบริษัท และหลายราคาก่อนตัดสินใจทำประกัน

2. มีที่ปรึกษาในการเคลม หรือการเรียกร้องผลประโยชน์ต่างๆ จากบริษัทประกันภัยในกรณีที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมจากการเคลม

3. ได้ราคาเบี้ยประกันที่คุ้มค่าและมีโปรโมชั่นให้เลือกหลากหลาย เพราะมีโบรกเกอร์หลายแห่ง จึงเกิดการแข่งขันกัน ทำให้ลูกค้ามีทางเลือกมากขึ้น

ประกันสุขภาพเป็นบริการทางการเงินที่คุณจ่ายเบี้ยประกันให้กับบริษัทประกัน เพื่อให้บริษัทช่วยรับผิดชอบค่ารักษาพยาบาลแทนคุณตามวงเงินและเงื่อนไขที่ตกลงกันไว้

  • ข้อแตกต่างหลักคือ "ทางเลือก" และ "ความสะดวกสบาย"
    • สิทธิบัตรทอง / ประกันสังคม: เป็นสวัสดิการพื้นฐานจากรัฐ ให้การรักษาตามสิทธิ์ในโรงพยาบาลที่กำหนด อาจต้องรอคิวและมีข้อจำกัดเรื่องห้องพักหรือยาบางชนิด
    • ประกันสุขภาพเอกชน: เปรียบเสมือน "ทางด่วน" สู่การรักษา คุณสามารถเลือกโรงพยาบาลเอกชนในเครือข่ายได้เอง และมีความคุ้มครองที่ครอบคลุมและยืดหยุ่นกว่า

จำเป็นเพราะสวัสดิการของบริษัทส่วนใหญ่มักมีวงเงินจำกัด ซึ่งอาจไม่เพียงพอสำหรับโรคร้ายแรงหรือการป่วยหนักที่อาจต้องผ่าตัด นอกจากนี้ หากคุณลาออกหรือเกษียณ สวัสดิการนั้นก็จะสิ้นสุดลง การมีประกันสุขภาพส่วนตัวไว้จะช่วยอุดช่องว่างและสร้างความคุ้มครองต่อเนื่องในระยะยาวได้

  • Deductible (ความรับผิดส่วนแรก): คือจำนวนเงินค่ารักษาที่คุณต้องจ่ายเองก่อนในแต่ละปี ก่อนที่ประกันจะเริ่มเข้ามาคุ้มครองส่วนที่เหลือ
  • Co-payment (การจ่ายร่วม): คือการที่คุณร่วมจ่ายค่ารักษาเป็นเปอร์เซ็นต์กับบริษัทประกัน เช่น 80/20 หมายถึง ประกันจ่าย 80% คุณจ่าย 20%

อ่านข้อมูล Co-Payment ฉบับเต็มได้ที่นี่

ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านประกันภัย

หากคุณกำลังมองหาแบบผลิตภัณฑ์ประกัน หรือยังไม่พบประกันที่ต้องการ พูดคุยกับเรา เพื่อให้เราได้หาประกันที่ตอบโจทย์ หรือให้ความคุ้มครองอย่างเหมาะสมกับคุณ (จันทร์ - เสาร์ 08.00 - 19.00 น.)
ปรึกษาผ่าน LINE ปรึกษาผ่าน Call Center